
ข้อจำกัดสำคัญของการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรมในอดีตที่ผ่านมา คือ การไม่เป็นเอกภาพของระบบ กระจัดกระจายและความซ้ำซ้อน รวมถึงความไม่เชื่อมโยงในเชิงนโยบายและทิศทางการดำเนินงานของหน่วยงานด้านการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ที่ตั้งอยู่ในหน่วยงานภาครัฐหลายแหล่ง ทั้งในระดับกระทรวง ทบวง กรม และสำนัก รวมถึงการขาดความเชื่อมโยงของนโยบายและการสนับสนุนด้านการวิจัยและนวัตกรรมกับภาค ผู้ผลิตการค้าและบริการ หรือผู้ใช้ประโยชน์จากการวิจัยและนวัตกรรม ส่งผลให้ผลผลิตจากการวิจัยและนวัตกรรมจำนวนไม่น้อยมีได้ถูกนำไปต่อยอดในเชิงมูลค่าทั้งในทางเศรษฐกิจและสังคม
ระบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ

การปฏิรูประบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) จึงมีเป้าหมายสำคัญ คือ การนำวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มาใช้ประโยชน์และส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศ และเกิดการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศบนฐานขององค์ความรู้จากการวิจัยและนวัตกรรม ตาม พ.ร.บ.สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2562 และ พ.ร.บ.การส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 ที่ถือได้ว่าเป็นกฎหมายหลักของการขับเคลื่อนระบบ ววน. ของ ประเทศ อันครอบคลุมตั้งแต่ด้านความเข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม การเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนใน ทุกมิติ ที่จำเป็นจะต้องใช้ความรู้และนวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์หรือการปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยมีโครงสร้างของระบบ ววน. ดังนี้

หน่วยงานบริหารและจัดการทุนวิจัย









โดยระบบ ววน. ประกอบด้วยกลไกและหน่วยงานต่าง ๆ ดังต่อไปนี้