
ที่มาและความสำคัญ
เนื่องจากผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่เกิดจากทุนสนับสนุนของรัฐยังไม่มีการนำไปใช้ประโยชน์เท่าที่ควร และกฎหมายปัจจุบันกำหนดให้ความเป็นเจ้าของผลงานวิจัยและ นวัตกรรมเป็นของรัฐแต่รัฐไม่เชี่ยวชาญและไม่ได้มีบทบาทหน้าที่ในการนำผลงานไปใช้ประโยชน์ จึงมีข้อเสนอให้ ยกความเป็นเจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรมให้แก่ผู้รับทุน หรือนักวิจัย เพื่อสร้าง “แรงจูงใจ” โดยเปรียบเทียบกับ Bayh-Dole Act ของสหรัฐอเมริกา และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 และมีผล บังคับใช้ วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2565
พระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม (TRIUP Act)
พระราชบัญญัติ ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564
ประกาศในราชกิจานุเบกษา 8 พฤศจิกายน 2564 มีผลบังคับใช้ 7 พฤษภาคม 2565
ทุนวิจัยที่เกิดขึ้นก่อน พ.ร.บ. มีผลใช้บังคับ
สิทธิความเป็นเจ้าของและการแบ่งปันผลประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม ให้เป็นไปตามสัญญาที่ตกลงไว้
ทุนวิจัยที่เกิดขึ้นหลัง พ.ร.บ. มีผลใช้บังคับ
สิทธิความเป็นเจ้าของและการแบ่งปันผลประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่เกิดจากการให้ทุน วิจัยภายใต้ พ.ร.บ. ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ใน กฎหมาย
กฎหมายลำดับรองและประกาศอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวม 14 ฉบับ
การขับเคลื่อนกฎหมายส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม
แต่ละภาคส่วนได้ประโยชน์จาก TRIUP Act อย่างไร?
ภาคเอกชน
- เป็นเจ้าของผลงานวิจัย
- Startup/Spinoff Company ระดมทุนง่ายขึ้น
- ลดขั้นตอนการเจรจาเพื่อใช้สิทธิผลงาน
สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัย นักวิจัย
- เป็นเจ้าของผลงานวิจัย
- รับผลประโยชน์ที่เกิดจากผลงาน
- ลดขั้นตอนการเจรจากับภาคเอกชน
ประชาชน เกษตรกร วิสาหกิจชุมชน
- เข้าถึง appropriate technology เพื่อใช้ในการปรับปรุงกระบวนการผลิตและการ บริการ และสร้างรายได้เพิ่มขึ้น
ประเทศ
- ปรับเปลี่ยนเข้าสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรม เพื่อหลุด พ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง
- เข้าถึงนวัตกรรมได้ง่ายขึ้น และใช้เป็นเครื่องมือใน การขับเคลื่อนประเทศ
แต่ละภาคส่วนต้องเตรียมตัวอย่างไร?
หน่วยงานที่เป็นเจ้าของผลงานวิจัย
- ต้องเข้าใจเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา และส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์งานวิจัย.
- ต้องเข้าใจสิทธิและหน้าที่กระบวนการยื่น แสดงความเป็น เจ้าของ การรายงาน การใช้ประโยชน์
หากผลงานวิจัยไม่ถูกใช้ประโยชน์ภายในระยะ เวลา 2 ปี สิทธิความเป็นเจ้าของจะกลับเป็นของ หน่วยงานผู้ให้ทุน
หน่วยงานที่ต้องการใช้ ประโยชน์ผลงานวิจัย.
- ต้องเข้าใจหลักการกระบวนการในการติด ต่อเจรจาเพื่อขอใช้สิทธิและเข้าใจเรื่อง ทรัพย์สินทางปัญญา
- ติดตามาตรการสนับสนุนต่าง ๆ ของรัฐ
หน่วยงานให้ทุนและจัดสรรงบประมาณวิจัย
- มีการเตรียมความพร้อมบุคลากรและ ระบบการบริหารจัดการทรัพย์สินทาง ปัญญา และติดตามการใช้ประโยชน์
- มีกระบวนการหรือกลไกในการส่งเสริมหนุนเสริมและติดตามให้หน่วยงานที่รับทุน สามารถผลักดันให้หน่วยงานวิจัยเกิดการ ใช้ประโยชน์เต็มประสิทธิภาพ